1 ใน 4
ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานจะมีแผลที่เท้าเกิดขึ้น1

เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

ผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน2

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร้ายแรงในระยะยาวที่พบในประชากรเกือบครึ่งล้านคนทั่วโลก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ หรือผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตในตับอ่อนที่ช่วยให้กลูโคสจากกระแสเลือดดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกายและเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางคลินิกของโรคเบาหวาน

ค่าประมาณการณ์ความชุกของโรคเบาหวาน (ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมกันทั้งที่ได้รับการวินิจฉัยและที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย) ในคนอายุ 20-79 ปี มีค่าเพิ่มขึ้นถึง 463 ล้านคน (คิดเป็น 9.3% ของประชากรโลก) หากไม่มีการดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะจัดการกับโรคนี้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จะมีประชากร 578 ล้านคน (คิดเป็น10.2% ของประชากร) เป็นโรคเบาหวาน และตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านคน (10.9%) ในปี พ.ศ. 25883

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานต่อตนเองซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้าโจมตีเซลล์ที่ผลิตอินซูลินของตับอ่อนซึ่งเป็นผลให้มีการสร้างอินซูลินน้อยมากถึงไม่มีเลย ในปัจจุบันนี้ยังมีความเข้าใจสาเหตุการทำลายเซลล์นี้อย่างไม่สมบูรณ์และไม่สามารถป้องกันได้ แต่คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้คือ น่าจะเกิดจากผลรวมกันของความไวทางพันธุกรรมและตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ภูมิตัวเอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเด็กและคนวัยหนุ่มสาว

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อรักษาระดับกลูโคสให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หากไม่มีอินซูลินผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างไรก็ตามด้วยการรักษาด้วยอินซูลินที่เหมาะสม ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ด้วยการให้ความรู้และการสนับสนุน ผู้ป่วยก็จะสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดี สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบมากที่สุดคิดโดยประมาณ 90% ของโรคเบาหวานทั่วโลก ในโรคเบาหวานนชนิดที่ 2 มีภาวะที่เรียกว่า ‘ภาวะดื้อต่ออินซูลิน’ ซึ่งเป็นภาวะที่ฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้ผล และเซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเต็มที่ เป็นผลให้มีการผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นและน้ำตาลในเลือดสูง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่โรคนี้มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับภาวะน้ำหนักเกินและอายุที่เพิ่มขึ้นรวมถึงเชื้อชาติและประวัติครอบครัว และเป็นผลมาจากการผสมผสานของยีนที่มีความหลากหลาย
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่จะพบมากขึ้นในเด็กและคนอายุน้อยเนื่องจากพบโรคอ้วนในระดับที่สูงขึ้น การไม่ออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หลักการที่สำคัญของการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือการส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีรวมถึงการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามหากความพยายามที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ยารับประทาน (หรืออินซูลิน) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

  • ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ในบางครั้ง แต่ภาวะนี้มักจะหายไปได้ในภายหลัง นอก
  • จากนี้ยังสามารถพบเบาหวานชนิดที่หายากอื่นๆได้เช่นกัน

ในระยะยาว ระดับกลูโคสที่สูงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตและทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดความพิการ และที่คุกคามชีวิต เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสียหายของเส้นประสาท (โรคของเส้นประสาท), ความเสียหายต่อไต โรคตา (โรคจอประสาทตา การสูญเสียการมองเห็น และแม้กระทั่งตาบอด) และภาวะแทรกซ้อนจากแผลเบาหวานที่เท้า (นำไปสู่การตัดขา)

เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากแผลเบาหวานที่เท้า

แผลเบาหวานที่เท้าเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ที่พบบ่อยที่สุด
มีหลายปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดแผลเบาหวานที่เท้า
และที่ทำให้แผลหายช้า:

การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (Loss of Protective Sensation ; LOPS)

โรคเบาหวานทำให้เกิด LOPS เนื่องจากโรคของเส้นประสาท โรคของเส้นประสาท คือความเสียหายของเส้นประสาทเนื่องจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง เมื่อเกิดโรคของเส้นประสาทส่วนปลาย (ซึ่งเป็นรูปแบบของโรคเส้นประสาทจากเบาหวานที่พบมากที่สุด) เส้นประสาทจะสูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นประสาทสั่งการ เส้นประสาทรับความรู้สึก หรือเส้นประสาทอัตโนมัติ
การสูญเสียความรู้สึกในการป้องกันอันตราย (LOPS) ทำให้ง่ายต่อการบาดเจ็บที่เท้าโดยไม่รู้ตัวนำไปสู่การเป็นแผล ผู้ป่วยที่มี LOPS อาจสูญเสียความสามารถในการรับรู้ความเจ็บปวด ความร้อนหรือความเย็นที่เท้า เมื่อการรับความรู้สึกลดลงผู้ป่วยจะไม่รู้ตำแหน่งของเท้าเวลาเดินซึ่งอาจทำให้เกิดแรงกดต่อกระดูกและข้ออย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลให้เท้าเกิดผิวหนังแข็ง (ผิวหนังด้าน) ซึ่งอาจทำให้เท้าผิดรูปและเกิดบาดแผล

ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่มี LOPS อาจไปเหยียบบนแก้วโดยไม่รู้ตัวจนทำให้ตัวเองป็นแผล

การผิดรูปของเท้า

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นอีกหากคุณมีความผิดปกติของเท้าด้วย ในผู้ป่วยเบาหวานความเสียหายต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเท้า ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและทำให้เท้าผิดรูป และทำให้เกิดจุดรับแรงกดที่ผิดปกติไป ส่งผลให้กระดูกงอกผิดปกติซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและทำให้เกิดแผล
ความผิดปกติของเท้าที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานคือ: นิ้วเท้าหงิกงอ นิ้วเท้างอจิก เกิดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง …

โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PAD)

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด PAD ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูงและภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
โรคเบาหวานกระตุ้นให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลบนผนังของหลอดเลือดแดงที่ขา และก่อให้เกิดการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือด เป็นผลให้เลือดไหลผ่านขาและเท้าได้ยากเนื่องจากหลอดเลือดแดงในขาตีบแคบลง หรืออุดตัน (ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง) ถ้าเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของเท้าลดลง จะเกิดการบาดเจ็บต่อเท่าได้ง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้ PAD จึงเพิ่มความเสี่ยงและความรุนแรงต่อแผลที่เท้า

PAD อาจส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนในกล้ามเนื้อ (การขาดเลือดไปเลี้ยง) ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดขาและแผลจากการขาดเลือด แผลเหล่านี้ทำให้เกิดเจ็บปวดมาก ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งที่ขา ข้างเท้า หรือปลายนิ้วเท้า หรือปรากฏเป็นเนื้อตาย
ในกรณีที่มีอาการบาดเจ็บทางระบบประสาทหรือเกิดบาดแผล PAD จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงเนื่องจากการลดลงของออกซิเจนในบริเวณที่เกิดแผล – และทำให้แผลหายช้า หรืออาจทำให้แผลไม่หายเลย

การขาดเลือดไปเลี้ยง คือการที่หลอดเลือดแดงถูกปิดกั้นหรือแคบลง ทำให้ส่วนของร่างกายที่หลอดเลือดนั้นไปเลี้ยงไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

ประวัติการเป็นแผลที่เท้าหรือการตัดขา

หลังจากแผลหาย อัตราการเกิดซ้ำของแผลเบาหวานที่เท้า คือ 40% ภายในหนึ่งปี และ 65% ภายใน 3 ปี4

“ดังนั้นมันอาจมีประโยชน์มากกว่าที่ให้คิดว่าผู้ป่วยที่แผลปิดสนิทแล้วถือว่าอยู่ในระยะสงบแทนที่จะเรียกว่าแผลหาย”

ชนิดของแผลเบาหวานที่เท้า

ผลกระทบของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

1 ใน 4 1

1 ใน 4 1
ของคนที่เป็นโรคเบาหวานอาจพัฒนาแผลที่เท้า

ทุกๆ 20 5

ทุกๆ 20 5
วินาทีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะถูกตัดขา

70% 3

70% 3
ของผู้ป่วยที่ถูกตัดขาจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

แผลเบาหวานที่เท้าอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสถูกตัดเท้าเนื่องจากแผลเบาหวานที่เท้ามากกว่าคนอื่นๆถึง 15 เท่า
โรคเบาหวานได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของการตัดขาทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนอย่างมาก หลายคนไม่สามารถทำงานได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นและไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยพบภาวะซึมเศร้าได้บ่อย
ผู้ป่วยที่ถูกตัดขามากถึง 70% จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี

1. Setacci C, de Donato G, Setacci F, Chisci E. Diabetic patients: epidemiology and global impact. J Cardiovasc Surg (Torino). 2009 Jul, 50(3) : 263-73

2. International Diabetes Federation Atlas – 9th edition 2019

 

3. Saeedi P. et al. Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the International Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9th edition. Diabetes Research and Clinical Practice 157 (2019) 107843

4. Armstrong DG, Boulton AJM, Bus SA. Diabetic Foot Ulcers and Their Recurrence. N Engl J Med 2017; 376: 2367–75.

 

5. Whiting, D. R., Guariguata, L., Weil, C., and Shaw, J. 2011. “IDF Diabetes Atlas: Global Estimates of the Prevalence of Diabetes for 2011 and 2030.” Diabetes Res. Clin. Pract. 94 (3): 311-21.

ยังโชคดีที่การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกัน และรักษาแผลที่เท้าได้สำเร็จด้วยการป้องกันที่มากขึ้น ด้วยการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นแผลที่เท้าและการส่งต่อผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าไปยังคลินิกเฉพาะทางที่เหมาะสม